ความมุ่งหมายในการจัดตั้งโรงเรียนรังสิตวิทยาขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรดาบุตรหลานของพ่อค้าประชาชน ซึ่งมีอาชีพในบริเวณใกล้เคียงให้ได้มีโอกาสเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาจีน เพื่อเป็นประโยชน์ในการทำมาหากิน

สถานที่ตั้งโรงเรียนตั้งอยู่ที่เรือนทรงปั้นหยาชั้นเดียวริมคลองรังสิต ตำบลบางพูน อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยมีนายชุนท้ง แซ่ตั้ง เป็นเจ้าของและผู้จัดการโรงเรียน

เนื่องจากทางราชการประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาในท้องถิ่นที่ตำบลบางพูน และตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี มาตั้งแต่พ.ศ. ๒๔๖๘ และได้จัดตั้งโรงเรียนประชาบาลขึ้นที่วัดบางพูน หมู่ที่ ๕ วัดเปรมประชากร ตำบลบางพูน หมู่ที่ ๒ ตั้งที่วัดรังสิต ตำบลหลักหก หมู่ ๔ ตั้งที่วัดนาวง ตำบลหลักหก หมู่ที่ ๒ รวม ๔ โรงเรียน เพื่อประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษา และเด็กในตำบลบางพูน หมู่ที่ ๕ กับเด็กในตำบลหลักหก หมู่ ๔ ตอนกลางและตอนใต้ที่ไม่ได้รับการศึกษาเป็นเวลาหลายปี เพราะระยะทางไกลเกินเขตจากโรงเรียนทั้ง ๔ แห่งนี้ ระยะทางเกินกว่า ๒,๐๐๐เมตร ทางไปมาไม่สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ

นายชุนท้ง แซ่ตั้ง กับราษฎร์ในตำบลบางพูน หมู่ที่ ๕ และตำบลหลักหก หมู่ที่ ๔ ได้ร่วมสละเงินสร้างโรงเรียนหลังนี้ เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ให้ชื่อว่า “โรงเรียนตี้มิน” ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๑๔๙๗ ได้เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนตี้มิน มาเป็นโรงเรียน “รังสิตวิทยา” ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ และพระราชบัญญัติประถมศึกษา จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประถมศึกษา ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ สัปดาห์ละ ๒๔ ชั่วโมง ต่อมาเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ ๓๐ ชั่วโมง เด็กในตำบลบางพูนหมู่ที่ ๕ กับเด็กในตำบลหลักหก หมู่ที่ ๔ จึงได้รับการศึกษาที่โรงเรียนนี้ทั่วถึงกันโรงเรียนนี้เจริญขึ้นตามลำดับ ตลอดมาทุกๆ ปี ครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ กระทรวงศึกษาธิการ อนุมัติเงินงบประมาณอุดหนุนโรงเรียนราษฎร์ประจำเดือนตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

เหตุการ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๒๓ ครูใหญ่ นางสาวฉลวย เตชะพีพงษ์ ลาออกเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ผู้จัดการโรงเรียนได้แต่งตั้ง
นางสมจิตต์ คำรักษ์ วุฒิ พ.ม มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๓

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ครูใหญ่ นางสาวอารียย์ บุญชั่ง ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ ผู้จัดการโรงเรียนได้แต่งตั้ง นางพนม วรภัฏ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้สร้างอาคารถาวรแทนอาคารหลังชั่วคราว เพื่อใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในปีการศึกษา ๒๕๔๑ มีครูลาออก ๖ คนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงใน ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ มีนักเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงต้องสร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมอีก ๑ หลัง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. ๒๕๔๗

ปีการศึกษา ๒๕๕๑ โรงเรียนได้เปิดอาคารเรียนหลังที่ ๓ เมื่อ วันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้เปลี่ยนอัตราค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นตามบทบัณณัติมาตรา ๓๒ แห่งพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๑

ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓๗ ให้ผู้รับใบอนุญาตแต่งตั้ง “ครูใหญ่” เป็น “ผู้อำนวยการ”

ในปีการศึกษา ๒๕๕๒ โรงเรียนได้จัดทำตราสารจัดตั้งโรงเรียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติกิจกรรมของโรงเรียน และเพื่อความชัดเจนในการบริหารจัดการของสถานศึกษา
วรภัฎ ได้ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ตั้งแต่วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ทางผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการโรงเรียนจึงได้แต่งตั้ง นางศิโรรัตน์ ไกรสุริยวงศ์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓

เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๒๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาต จากนายชุนท้ง แซ่ตั้ง มาเป็นนายสงวนศักดิ์ ตั้งจิตเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการในปีการศึกษา ๒๕๒๓ได้มีการเปลี่ยนผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ จากนายชุนท้ง แซ่ตั้ง มาเป็นนายสงวนศักดิ์
ตั้งจิตเจริญ เป็นผู้รับใบอนุญาต/ผู้จัดการ

เหตุการ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๒๔ ครูใหญ่ นางสมจิตต์ คำรักษ์ ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ผู้จัดการโรงเรียนได้แต่งตั้ง
นางเสาวคนธ์ พูลมา เป็นครูใหญ่ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๔

เหตุการ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๓๒ ครูใหญ่ นางเสาวคนธ์ พูลมา ได้ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ตั้งแต่วันที่ ๖ กันยายน
พ.ศ. ๒๕๓๒ ผู้จัดการโรงเรียนได้แต่งตั้ง นางสุมาลี พรเพชรประชา วุฒิ ครุศาสตร์ ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๒

เหตุการ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๓๖ ครูใหญ่ นางสุมาลี พรเพชรประชา ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ตั้งแต่วันที่
๓๐มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ผู้จัดการโรงเรียนได้แต่งตั้ง นางสาววลีย์ เกิดลาภดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖

เหตุการ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๓๗ ครูใหญ่ นางสาววลีย์ เกิดลาภ ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปประกอบอาชีพอื่น ตั้งแต่วันที่
๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้จัดการโรงเรียนได้แต่งตั้ง นางสาวอารียย์ บุญชั่ง วุฒิ ศิลปศาสตร์บัณฑิต ดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ตั้งแต่วันที่๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗

เหตุการ์เปลี่ยนแปลงในปีการศึกษา ๒๕๓๗ อาคารชั้นเดียวหลังเก่าเดิมชำรุดทรุดโทรม ประกอบกับทางโรงเรียนรังสิตวิทยา มีนโยบายสนองรับ นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการให้ขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นทางสมาคมศิษย์เก่าและชาวรังสิต จึงเห็นสมควรให้ก่อสร้างอาคาร ๔ ขั้น ๒ หลัง แทนอาคารหลังเก่า อาคารหลังใหม่นี้เปิดใช้ตั้งแต่วันที่
๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗

เหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้ขออนุญาตขยายการรับนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา ชั้นอนุบาลปีที่ ๑-๓ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ ตามใบอนุญาตที่ ปท. ๐๑๓๒/๓๒๒๐